เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 11. ยวกลาปิสูตร

เมื่อใดสัตว์ทั้ง 6 ชนิดนั้นต่างก็จะไปตามใจของตน พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์
เหล่านั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลักหรือเสานั้น แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กายคตาสติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
ตาย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่น่าเกลียด
ฯลฯ
ลิ้นย่อมไม่ฉุด ฯลฯ
ใจย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่น่าเกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล
คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคง นี้เป็นชื่อของกายคตาสติ
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “กายคตาสติเราทั้งหลาย
จักเจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”

ฉัปปาณโกปมสูตรที่ 10 จบ

11. ยวกลาปิสูตร
ว่าด้วยฟ่อนข้าวเหนียว

[248] “ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียว บุคคลกองไว้ที่ถนนใหญ่สี่แยก ลำดับนั้น
บุรุษ 6 คนถือไม้คานเดินมา พวกเขาช่วยกันนวดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คานทั้ง 6
อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกนวดอย่างดีด้วยไม้คาน 6 อันอย่างนี้ ต่อมา บุรุษคน
ที่ 7 ถือไม้คานเดินมา เขาพึงนวดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ 7 ฟ่อน
ข้าวเหนียวนั้นถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ 7 พึงถูกนวดดีกว่าอย่างนี้ แม้ฉันใด ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :265 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 11. ยวกลาปิสูตร

ถูกรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบตา ฯลฯ
ถูกรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบลิ้น ฯลฯ
ถูกธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบใจ
ถ้าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นย่อมคิดเพื่อจะเกิดอีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ปุถุชนนั้น
ย่อมเป็นโมฆบุรุษผู้ถูกอายตนะภายนอกกระทบอย่างหนักเหมือนฟ่อนข้าวเหนียวที่
ถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ 7 ฉะนั้น
สงครามระหว่างเทวดากับอสูร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรรับสั่งเรียกพวกอสูรมาตรัสว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรรบประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดา
พึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะจอมเทพนั้นด้วยเครื่อง
จองจำทั้ง 5 รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมายังเมืองอสูรในสำนักของเรา
ฝ่ายท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า “ท่านผู้
นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดา
พึงชนะ พวกอสูรพึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรนั้นด้วยเครื่องจองจำทั้ง 5 รวมทั้งเครื่องผูกคอแล้วนำมายังเทวสภาชื่อ
สุธรรมาในสำนักของเรา
สงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ ต่อมา พวกเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ได้จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำทั้ง 5 รวมทั้งเครื่องผูกคอ
แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมาในสำนักของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ท้าว
เวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง 5 รวมทั้งเครื่องผูกคอ
ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกเทวดาตั้งอยู่ในธรรม พวก
อสูรไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเทพนคร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อม
พิจารณาเห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำทั้ง 5 รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเป็นผู้เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5 อันเป็นทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :266 }