เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 10. ฉัปปาณโกปมสูตร

ความสำรวม

ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติและ
ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษจับสัตว์ 6 ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน
แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว คือ จับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว แล้วผูก
ติดไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง
ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง 6 ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้นพึงดึง
ไปสู่ที่หากินและที่อยู่ของตน ๆ คือ
งูดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าจอมปลวก”
จระเข้ดึงไปด้วยต้องการว่า “จักลงน้ำ”
นกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักบินขึ้นสู่อากาศ”
สุนัขดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าบ้าน”
สุนัขจิ้งจอกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่าช้า”
ลิงดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :264 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 11. ยวกลาปิสูตร

เมื่อใดสัตว์ทั้ง 6 ชนิดนั้นต่างก็จะไปตามใจของตน พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์
เหล่านั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลักหรือเสานั้น แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กายคตาสติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
ตาย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่น่าเกลียด
ฯลฯ
ลิ้นย่อมไม่ฉุด ฯลฯ
ใจย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่น่าเกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล
คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคง นี้เป็นชื่อของกายคตาสติ
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “กายคตาสติเราทั้งหลาย
จักเจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”

ฉัปปาณโกปมสูตรที่ 10 จบ

11. ยวกลาปิสูตร
ว่าด้วยฟ่อนข้าวเหนียว

[248] “ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียว บุคคลกองไว้ที่ถนนใหญ่สี่แยก ลำดับนั้น
บุรุษ 6 คนถือไม้คานเดินมา พวกเขาช่วยกันนวดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คานทั้ง 6
อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกนวดอย่างดีด้วยไม้คาน 6 อันอย่างนี้ ต่อมา บุรุษคน
ที่ 7 ถือไม้คานเดินมา เขาพึงนวดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ 7 ฟ่อน
ข้าวเหนียวนั้นถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ 7 พึงถูกนวดดีกว่าอย่างนี้ แม้ฉันใด ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :265 }