เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 10. ฉัปปาณโกปมสูตร

ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อม
ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่
รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษจับสัตว์ 6 ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน
แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว คือ จับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว ขมวด
เป็นปมไว้ตรงกลางแล้วจึงปล่อยไป
ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง 6 ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้นพึงดึง
ไปสู่ที่หากินและที่อยู่ของตน ๆ คือ
งูดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าไปสู่จอมปลวก”
จระเข้ดึงไปด้วยต้องการว่า “จักลงน้ำ”
นกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักบินขึ้นสู่อากาศ”
สุนัขดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าบ้าน”
สุนัขจิ้งจอกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่าช้า”
ลิงดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่า”
เมื่อใดสัตว์ทั้ง 6 ชนิดนั้นต่างก็จะไปตามใจของตน พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์
เหล่านั้นก็พึงตกอยู่ในอำนาจ ไปตามสัตว์ที่มีกำลังกว่า แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน กายคตาสติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
ตาย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจเป็นของน่าเกลียด ฯลฯ
ลิ้นย่อมฉุด ฯลฯ
ใจย่อมฉุดภิกษุไปในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเป็นของ
น่าเกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :263 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 10. ฉัปปาณโกปมสูตร

ความสำรวม

ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติและ
ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษจับสัตว์ 6 ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน
แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว คือ จับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว แล้วผูก
ติดไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง
ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง 6 ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้นพึงดึง
ไปสู่ที่หากินและที่อยู่ของตน ๆ คือ
งูดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าจอมปลวก”
จระเข้ดึงไปด้วยต้องการว่า “จักลงน้ำ”
นกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักบินขึ้นสู่อากาศ”
สุนัขดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าบ้าน”
สุนัขจิ้งจอกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่าช้า”
ลิงดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :264 }