เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 9. วีโณปมสูตร

ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้น ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรสที่พึงรู้แจ้ง
ทางลิ้นพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในธรรมารมณ์ที่
พึงรู้แจ้งทางใจพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้นโดยพิจารณาว่า “ทางนั้นมีภัย มีภัย
จำเพาะหน้า มีหนาม รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้น
เป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น”
ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้น
ข้าวกล้าถึงจะสมบูรณ์ แต่คนเฝ้าข้าวกล้าประมาท และโคตัวกินข้าวกล้าก็ลง
ลุยข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมามันเลินเล่อตามต้องการแม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ 6 ประการ ย่อมถึงความ
มัวเมาประมาทในกามคุณ 5 ตามต้องการ
ข้าวกล้าสมบูรณ์ คนเฝ้าข้าวกล้าก็ไม่ประมาท และโคที่กินข้าวกล้า ก็ลงลุย
ข้าวกล้าโน้น คนเฝ้าข้าวกล้าจับโคสนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขา
ให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้วปล่อยเข้าฝูงไป
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 โคที่กินข้าวกล้าก็ลงลุยข้าวกล้าโน้นอีก คนเฝ้าข้าวกล้าก็จับโค
สนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขาให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้ว
ปล่อยเข้าฝูงไป เมื่อเป็นเช่นนั้น โคที่กินข้าวกล้านั้นจะอยู่ในบ้านก็ตาม อยู่ในป่า
ก็ตาม ก็จะเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่กลับลงสู่ข้าวกล้าอีก พลางนึกถึงการ
ถูกตีด้วยท่อนไม้ครั้งก่อนนั้นแลแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดภิกษุข่มขู่
คุกคามจิตในผัสสายตนะ 6 ประการดีแล้ว เมื่อนั้นจิตย่อมอยู่สงบนิ่งอยู่ภายใน
ตั้งมั่น เป็นหนึ่งผุดขึ้น
เปรียบเหมือนพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาไม่เคยสดับเสียงพิณ พระ
ราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นสดับเสียงพิณแล้วพึงถามว่า “ผู้เจริญ เสียงที่น่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :260 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 9. วีโณปมสูตร

ใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่าเพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพัน
อย่างนี้ เป็นเสียงอะไร”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงทูลว่า “เสียงที่น่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ เป็นเสียงพิณ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไป
นำพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายนำพิณนั้นมาถวายพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นแล้ว
พึงกราบทูลว่า “นี่คือพิณนั้นซึ่งมีเสียงน่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ เราไม่ต้องการพิณนี้
ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงกราบทูลว่า “ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมาย
หลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่ง
เสียงได้ คือ อาศัยราง อาศัยหนัง อาศัยคัน อาศัยลูกบิด1 อาศัยสาย อาศัย
ไม้ดีดพิณ และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งเหมาะแก่พิณนั้น
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมายหลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดี
แล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง จึงจะเปล่งเสียงได้อย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นพึงผ่าพิณนั้นเป็น 10 เสี่ยง หรือ 100
เสี่ยงแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วพึงเผาไฟทำให้เป็นเขม่า โปรยไปในลม
พายุหรือลอยไปในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่าพิณก็เลวทรามเหมือนพิณฉะนั้น เพราะ
พิณนี้ทำให้คนประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต” แม้ฉันใด