เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 9. วีโณปมสูตร

คำว่า มี 6 ประตู นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6 ประการ
คำว่า นายประตู นี้เป็นชื่อของสติ
คำว่า ราชทูต 2 นายผู้มีราชการด่วน นี้เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา
คำว่า เจ้าเมือง นี้เป็นชื่อของวิญญาณ
คำว่า ทางสี่แยกกลางเมือง นี้เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง 4 คือ

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

คำว่า พระราชสาส์นตามความเป็นจริง นี้เป็นชื่อของนิพพาน
คำว่า ทางตามที่ตนมา นี้เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”

กิงสุโกปมสูตรที่ 8 จบ

9. วีโณปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพิณ

[246] “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะ1(ความพอใจ) ราคะ2(ความกำหนัด) โทสะ (ความ
ขัดเคือง) โมหะ (ความหลง) หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงห้ามจิตจาก
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้นโดยพิจารณาว่า ‘ทางนั้นมีภัย มีภัยจำเพาะหน้า มีหนาม
รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้นเป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน
ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 9. วีโณปมสูตร

ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้น ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรสที่พึงรู้แจ้ง
ทางลิ้นพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในธรรมารมณ์ที่
พึงรู้แจ้งทางใจพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้นโดยพิจารณาว่า “ทางนั้นมีภัย มีภัย
จำเพาะหน้า มีหนาม รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้น
เป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น”
ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้น
ข้าวกล้าถึงจะสมบูรณ์ แต่คนเฝ้าข้าวกล้าประมาท และโคตัวกินข้าวกล้าก็ลง
ลุยข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมามันเลินเล่อตามต้องการแม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ 6 ประการ ย่อมถึงความ
มัวเมาประมาทในกามคุณ 5 ตามต้องการ
ข้าวกล้าสมบูรณ์ คนเฝ้าข้าวกล้าก็ไม่ประมาท และโคที่กินข้าวกล้า ก็ลงลุย
ข้าวกล้าโน้น คนเฝ้าข้าวกล้าจับโคสนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขา
ให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้วปล่อยเข้าฝูงไป
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 โคที่กินข้าวกล้าก็ลงลุยข้าวกล้าโน้นอีก คนเฝ้าข้าวกล้าก็จับโค
สนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขาให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้ว
ปล่อยเข้าฝูงไป เมื่อเป็นเช่นนั้น โคที่กินข้าวกล้านั้นจะอยู่ในบ้านก็ตาม อยู่ในป่า
ก็ตาม ก็จะเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่กลับลงสู่ข้าวกล้าอีก พลางนึกถึงการ
ถูกตีด้วยท่อนไม้ครั้งก่อนนั้นแลแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดภิกษุข่มขู่
คุกคามจิตในผัสสายตนะ 6 ประการดีแล้ว เมื่อนั้นจิตย่อมอยู่สงบนิ่งอยู่ภายใน
ตั้งมั่น เป็นหนึ่งผุดขึ้น
เปรียบเหมือนพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาไม่เคยสดับเสียงพิณ พระ
ราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นสดับเสียงพิณแล้วพึงถามว่า “ผู้เจริญ เสียงที่น่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :260 }