เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 8. กิงสุโกปมสูตร

เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็นแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การ
เห็นของสัตบุรุษเหล่านั้นผู้เชื่อแล้วเป็นอันถูกต้องโดยประการใด ๆ สัตบุรุษเหล่านั้น
ก็ได้ตอบโดยประการนั้น ๆ
ภิกษุ เมืองชายแดนของพระราชา มีกำแพงและเชิงเทิน1มั่นคง มี 6 ประตู
นายประตูของเมืองนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก
อนุญาตเฉพาะคนที่ตนรู้จักให้เข้าไปในเมืองนั้น ราชทูต 2 นายมีราชการด่วนมา
จากทิศตะวันออก ถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมือง ๆ นี้อยู่ที่ไหน’
นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก
กลางเมือง’
ลำดับนั้น ราชทูต 2 นายผู้มีราชการด่วนได้มอบถวายพระราชสาส์นตามความ
เป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้วกลับไปตามทางที่ตนมา ราชทูตอีก 2 นายผู้มีราชการด่วน
มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ มาจากทิศเหนือ ... มาจากทิศใต้ แล้วถาม
นายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมือง ๆ นี้อยู่ที่ไหน’
นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก
กลางเมือง’
ลำดับนั้น ราชทูต 2 นายผู้มีราชการด่วนนั้นได้มอบถวายพระราชสาส์นตาม
ความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว ก็กลับไปตามทางที่ตนมา แม้ฉันใด
อุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรายกมาก็เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจน
ในอุปไมยนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้
คำว่า เมือง นี้เป็นชื่อของกายนี้ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป 4 เกิดจาก
มารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น
มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 9. วีโณปมสูตร

คำว่า มี 6 ประตู นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6 ประการ
คำว่า นายประตู นี้เป็นชื่อของสติ
คำว่า ราชทูต 2 นายผู้มีราชการด่วน นี้เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา
คำว่า เจ้าเมือง นี้เป็นชื่อของวิญญาณ
คำว่า ทางสี่แยกกลางเมือง นี้เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง 4 คือ

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

คำว่า พระราชสาส์นตามความเป็นจริง นี้เป็นชื่อของนิพพาน
คำว่า ทางตามที่ตนมา นี้เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”

กิงสุโกปมสูตรที่ 8 จบ

9. วีโณปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพิณ

[246] “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะ1(ความพอใจ) ราคะ2(ความกำหนัด) โทสะ (ความ
ขัดเคือง) โมหะ (ความหลง) หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงห้ามจิตจาก
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้นโดยพิจารณาว่า ‘ทางนั้นมีภัย มีภัยจำเพาะหน้า มีหนาม
รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้นเป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน
ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น’