เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 7. ทุกขธัมมสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จลุกขึ้น รับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะ
มาตรัสชมว่า “ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดีนักที่เธอได้กล่าวอวัสสุตบรรยายและ
อนวัสสุตบรรยายแก่ภิกษุทั้งหลาย”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรง
พอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ดังนี้แล

อวัสสุตปริยายสูตรที่ 6 จบ

7. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยทุกขธรรม

[244] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม1
ทั้งปวงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเธอย่อมเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย
อำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง
ทั้งตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่โดยอาการที่เมื่อประพฤติอยู่ ธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ
ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง
เป็นอย่างไร
คือ รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯลฯ อย่างนี้สังขาร ฯลฯ อย่างนี้วิญญาณ
อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงเป็น
อย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 7. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความ
ใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง เป็นอย่างไร
คือ หลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าช่วงบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน
ขณะนั้นมีบุรุษคนหนึ่งอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์เดินมา มี
บุรุษ 2 คนที่แข็งแรงจับแขนเขาคนละข้าง ลากเข้าหาหลุมถ่านเพลิง เขาโอนเอน
กายไปข้างโน้นข้างนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า ‘เราตกหลุมถ่านเพลิงนี้
จักถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะตกหลุมถ่านเพลิงนั้น’ แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นกามซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง โดยอาการที่เมื่อเห็น
กามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความ
สยบด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่
นอนเนื่อง
ภิกษุตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่ โดยอาการที่เมื่อ
ประพฤติอยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ เป็น
อย่างไร
คือ บุรุษเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าของเขาก็มีหนาม ข้างหลังก็มี
หนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม
เขามีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ ด้วยคิดว่า ‘หนามอย่าแทงเรา’ แม้ฉันใด ข้อนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวรูปที่น่ารัก น่ายินดีในโลกว่าเป็นหนามในอริยวินัย ภิกษุ
รู้อย่างนี้แล้วพึงรู้จักความไม่สำรวมและความสำรวม
ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทาง
ใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :252 }