เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 6. อวัสสุตปริยายสูตร

“ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโต-
วิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ
เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็
พึงได้ช่องได้อารมณ์1 ฯลฯ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางลิ้น ฯลฯ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์
เรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อหรือเรือนที่สร้างด้วยหญ้าแห้งกรอบมีอายุ 3-4 ปี ถ้า
แม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อ
ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ
ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คน
เอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศไหน ๆ ก็ตาม ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อแม้
ฉันใด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 6. อวัสสุตปริยายสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา
มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทาง
ลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้
อารมณ์
รูปครอบงำภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ได้ ภิกษุหาครอบงำรูปได้ไม่ เสียง
ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำเสียงได้ไม่ กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหา
ครอบงำกลิ่นได้ไม่ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำรสได้ไม่ โผฏฐัพพะ
ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำโผฏฐัพพะได้ไม่ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้
ภิกษุหาครอบงำธรรมารมณ์ได้ไม่
ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกครอบงำ คือ ถูกรูปครอบงำ ถูกเสียงครอบงำ ถูก
กลิ่นครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ และถูกธรรมารมณ์ครอบงำ
แต่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ไม่ได้ ธรรมที่เป็น
บาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ครอบงำเธอแล้ว
ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโต-
วิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :249 }