เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 4. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

คำว่า การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ เป็นชื่อของกามคุณ 5 ประการ
ความเน่าภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล1 มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด2
มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี3 เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ
เป็นเหมือนหยากเยื่อ4
นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน”
ก็ขณะนั้น นายนันทโคบาลยืนอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น นาย
นันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก
ไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ จักไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น จักไม่จมในท่ามกลาง จักไม่เกยตื้น จัก
ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ จักไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง จักไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ จักไม่เป็นผู้
เน่าภายใน ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกโคลูกแหง่จักไปเอง”
“นันทะ เธอจงมอบโคให้แก่เจ้าของเขาเถิด”
ต่อมา นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ได้มอบโคให้แก่เจ้าของเขาแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 6. อวัสสุตปริยายสูตร

นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ท่าน
พระนันทะอุปสมบทได้ไม่นานก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ฯลฯ อนึ่ง ท่านพระนันทะ
ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ปฐมทารุกขันโธปมสูตรที่ 4 จบ

5. ทุติยทารุกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขอนไม้ สูตรที่ 2

[242] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมือง
กิมมิละ ได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้น
ที่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ ฯลฯ
“กิมมิละ ความเน่าภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การออก
จากอาบัติเช่นนั้นยังไม่ปรากฏ
นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน”

ทุติยทารุกขันโธปมสูตรที่ 5 จบ

6. อวัสสุตปริยายสูตร
ว่าด้วยอวัสสุตบรรยาย

[243] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์รับสั่งให้สร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :245 }