เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 4. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าไปใกล้
ฝั่งโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่
ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่เป็นผู้เน่าภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอทั้งหลายก็จักน้อมไป
สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสัมมาทิฏฐิย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ อะไรชื่อว่าฝั่งโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่ามกลาง อะไร
ชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไร
การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร”
“ภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6 ประการ
คำว่า ฝั่งโน้น นี้เป็นชื่อของอายตนะภายนอก 6 ประการ
คำว่า การจมในท่ามกลาง นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี)
คำว่า การเกยตื้น นี้เป็นชื่อของการถือตัว
การถูกมนุษย์จับไว้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์
เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ช่วยทำ
กิจนั้นด้วยตนเอง
นี้เรียกว่า การถูกมนุษย์จับไว้
การถูกอมนุษย์เข้าสิง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใด
หมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง’
นี้เรียกว่า การถูกอมนุษย์เข้าสิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :243 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 4. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

คำว่า การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ เป็นชื่อของกามคุณ 5 ประการ
ความเน่าภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล1 มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด2
มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี3 เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ
เป็นเหมือนหยากเยื่อ4
นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน”
ก็ขณะนั้น นายนันทโคบาลยืนอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น นาย
นันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก
ไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ จักไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น จักไม่จมในท่ามกลาง จักไม่เกยตื้น จัก
ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ จักไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง จักไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ จักไม่เป็นผู้
เน่าภายใน ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกโคลูกแหง่จักไปเอง”
“นันทะ เธอจงมอบโคให้แก่เจ้าของเขาเถิด”
ต่อมา นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ได้มอบโคให้แก่เจ้าของเขาแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค”