เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 8. อาทิตตปริยายสูตร

อาทิตตบรรยายและธรรมบรรยาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กที่ร้อน ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะ1ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่ประเสริฐ
เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น
จะพึงถึงคติอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทะลวงโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน
โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู
ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีใน
อนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไป
ได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บที่คม ไฟติด ลุกโชน
โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดี
ในอนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น
เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่ประเสริฐ
เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น
จะพึงถึงคติอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้