เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 5. โกฏฐิกสูตร

หรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทาง
ตาซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปเพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่มี ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โทสะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางใจของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์เพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว”

ขีรรุกโขปมสูตรที่ 4 จบ

5. โกฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิกะ

[232] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระมหาโกฏฐิกะออก
จากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :224 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 5. โกฏฐิกสูตร

“ท่านสารีบุตร ตาเกี่ยวข้องกับรูป รูปเกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ ลิ้นเกี่ยวข้อง
กับรส รสเกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ ใจเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เกี่ยว
ข้องกับใจหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิกะ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่
เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและ
รูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสก็ไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น แต่เพราะอาศัยลิ้นและรส
ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้นและรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือ
ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาว
เกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวพึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ขอรับ โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ผู้มีอายุ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป
รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ผู้มีอายุ ตาจักเกี่ยวข้องกับรูป หรือรูปจักเกี่ยวข้องกับตา การประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :225 }