เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 3. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร

ภิกษุเห็นสัททะ ... คันธะ ... รส .... โผฏฐัพพะ ... ภิกษุเห็นธรรมารมณ์
ที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้น
ความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุด
พ้นดีแล้ว”

พาหิรนันทิกขยสูตรที่ 2 จบ

3. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง

[158] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการจักขุโดยแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักขุตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการจักขุโดยแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักขุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
เธอทั้งหลายจงมนสิการชิวหาโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งชิวหาตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการชิวหาโดยแยบคาย และพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงแห่งชิวหาตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการมโนโดยแยบคาย และจงพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงแห่งมโนตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการมโนโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งมโนตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”

อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตรที่ 3 จบ