เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
ไม่ถือมั่นมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธรรมกถิกปุจฉาสูตรที่ 10 จบ
นวปุราณวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กัมมนิโรธสูตร 2. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
3. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร 4. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
5. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร 6. อันเตวาสิกสูตร
7. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร 8. อัตถินุโขปริยายสูตร
9. อินทริยสัมปันนสูตร 10. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร

ตติยปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ

1. โยคักเขมิวรรค 2. โลกกามคุณวรรค
3. คหปติวรรค 4. เทวทหวรรค
5. นวปุราณวรรค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 2. พาหิรนันทิกขยสูตร

4. จตุตถปัณณาสก์
1. นันทิกขยวรรค
หมวดว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน
1. อัชฌัตตนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายใน

[156] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักขุที่ไม่เที่ยง
นั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เมื่อ
เห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึง
สิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิต
หลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นชิวหาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ
เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน ฯลฯ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นมโนที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของ
ภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลิน
และราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”

อัชฌัตตนันทิกขยสูตรที่ 1 จบ

2. พาหิรนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอก

[157] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็น
ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :193 }