เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 9. อินทริยสัมปันนสูตร

ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ พึงทราบ
ด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึงทราบ
ด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล”

อัตถินุโขปริยายสูตรที่ 8 จบ

9. อินทริยสัมปันนสูตร
ว่าด้วยผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์

[154] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์
ตรัสว่า ‘ภิกษุเพียบพร้อมด้วยอินทรีย์ ภิกษุเพียบพร้อมด้วยอินทรีย์’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “หากภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในจักขุนทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ หากภิกษุพิจารณาเห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในชิวหินทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหินทรีย์ ฯลฯ
หากภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในมนินทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่าย
ในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :190 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 10. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร

‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้
เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์”

อินทริยสัมปันนสูตรที่ 9 จบ

10. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามเรื่องพระธรรมกถึก

[155] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงเป็นธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควร
เรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะ
ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นจักขุ ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’ ฯลฯ
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหา
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ฯลฯ
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :191 }