เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 2. ยมกวรรค 8. ทุติยาภินันทสูตร

ผู้ที่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า
‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินจักขุ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินฆานะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินชิวหา ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินกาย ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”

ปฐมาภินันทสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยาภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอายตนะ สูตรที่ 2

[20] “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลิน
ทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”

ทุติยาภินันทสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 2. ยมกวรรค 10. ทุติยทุกขุปปาทสูตร

9. ปฐมทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ 1

[21] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งโสตะ ฯลฯ แห่ง
ฆานะ ฯลฯ แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสตะ ฯลฯ แห่งฆานะ ฯลฯ
แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ปฐมทุกขุปปาทสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ 2

[22] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งสัททะ ฯลฯ
แห่งคันธะ ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :20 }