เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 8. อัตถินุโขปริยายสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้นมีอยู่
อนึ่ง ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ ฯลฯ เว้นจาก
การเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะใน
ภายใน ซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะ ในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ
และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ
โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ หรือรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ พึงทราบ
ด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึงทราบ
ด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :188 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 8. อัตถินุโขปริยายสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และ
โมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วจึงรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ
โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า
‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ
พึงทราบด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึง
ทราบด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และ
โมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัด
ราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของ
เราไม่มี’
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจจึงรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า
‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :189 }