เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 7. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร

7. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์

[152] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงถามเธอทั้งหลาย
ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้
ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์’
อนึ่ง ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ก็ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้
นั้นเป็นอย่างไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
ผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้จักขุที่เป็นทุกข์นั้น
รูปเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนด
รู้รูปที่เป็นทุกข์นั้น
จักขุวิญญาณเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้จักขุวิญญาณที่เป็นทุกข์นั้น
จักขุสัมผัสเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้จักขุสัมผัสที่เป็นทุกข์นั้น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ
ภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :186 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 8. อัตถินุโขปริยายสูตร

ชิวหาเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้ชิวหาที่เป็นทุกข์นั้น ... มโนเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้มโนที่เป็นทุกข์นั้น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ
ภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แล คือทุกข์ที่เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
ผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

กิมัตถิยพรหมจริยสูตรที่ 7 จบ

8. อัตถินุโขปริยายสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับเหตุ

[153] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความ
เชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตาม
แนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป เหตุนั้นมีอยู่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :187 }