เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 5. จตุตถนิพพาน...สูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 6. อันเตวาสิกสูตร

6. อันเตวาสิกสูตร
ว่าด้วยอันเตวาสิก

[151] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ไม่มีอันเตวาสิก1 ไม่มี
อาจารย์2 ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ส่วนภิกษุ
ผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อม
ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึง
เรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ธรรมที่เป็นบาปอกุศลย่อมอยู่ภายในของ
ภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุ
นั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุ
นั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น
เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมฟุ้งขึ้น
ท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างนี้แล