เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 4. เทวทหวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

12. พาหิรานัตตเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

[145] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
รูปก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เกิดจาก
เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททะ ฯลฯ แม้ในคันธะ ... แม้ในรส ... แม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรานัตตเหตุสูตรที่ 12 จบ
เทวทหวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. เทวทหสูตร 2. ขณสูตร
3. ปฐมรูปารามสูตร 4. ทุติยรูปารามสูตร
5. ปฐมนตุมหากสูตร 6. ทุติยนตุมหากสูตร
7. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร 8. อัชฌัตตทุกขเหตุสูตร
9. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร 10. พาหิรานิจจเหตุสูตร
11. พาหิรทุกขเหตุสูตร 12. พาหิรานัตตเหตุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 1. กัมมนิโรธสูตร

5. นวปุราณวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมใหม่และกรรมเก่า
1. กัมมนิโรธสูตร
ว่าด้วยกรรมและความดับกรรม

[146] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมใหม่และ
กรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
กรรมเก่า เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วย
เจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
มโน (ใจ) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า
กรรมใหม่ เป็นอย่างไร
คือ กรรมที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา ใจ
นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่
ความดับกรรม เป็นอย่างไร
คือ นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะดับกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมได้
นี้เราเรียกว่า ความดับกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม อะไรบ้าง
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :179 }