เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 7. หาลิททกานิสูตร

อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนา
จึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึง
เกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะ
ต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิดเป็นอย่างนี้แล”

หาลิททกานิสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 8. นกุลปิตุสูตร

8. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตุคหบดี

[131] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นที่พระ
ราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตุคหบดี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “คหบดี รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณ
ที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่
ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัย
ตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :159 }