เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 5. โสณสูตร

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน
สมัยใดแม้ข้าพเจ้าเอง ไม่ได้รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติไว้มั่น ไม่สำรวม
อินทรีย์ เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก
แต่สมัยใดข้าพเจ้าได้รักษากาย วาจา ใจ ตั้งสติไว้มั่น สำรวมอินทรีย์
เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ไม่ครอบงำข้าพเจ้า
ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะ ภาษิต
ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง
ทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ท่านภารทวาชะ
ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

ภารทวาชสูตรที่ 4 จบ

5. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร

[128] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :155 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 6. โฆสิตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โสณะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลก
นี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

โสณสูตรที่ 5 จบ

6. โฆสิตสูตร
ว่าด้วยโฆสิตคหบดี

[129] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
โฆสิตคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า ‘ธาตุต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ ‘ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ธาตุต่าง ๆ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี จักขุธาตุ รูปที่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณ
มีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) สุขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปที่ไม่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ทุกขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด ฯลฯ
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่ไม่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :156 }