เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 2. โลกกามคุณวรรค 7. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
ปัญจสิขะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

ปัญจสิขสูตรที่ 6 จบ

7. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร
ว่าด้วยสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร

[120] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็น
สัทธิวิหาริกบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ย่อมเ
ป็นอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้เลย1ที่ภิกษุนั้นไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้
ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบ
ต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต เป็นไปได้2ที่ภิกษุนั้นคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 2. โลกกามคุณวรรค 7. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร

ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุ) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูก
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความ
ทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
(อินทรีย์คือมโน) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษและการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา’
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นอย่างนี้แล