เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 2. โลกกามคุณวรรค 2. ทุติยมารปาสสูตร

ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจ
ของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้ พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้
ตามใจปรารถนา”

ปฐมมารปาสสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ 2

[115] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึด
ติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไม่ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่
ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตาม
ใจปรารถนา”

ทุติยมารปาสสูตรที่ 2 จบ