เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 7. อุปาทานิยสูตร

6. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[109] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เราเรียกว่า สังโยชน์”

สัญโญชนิยสูตรที่ 6 จบ

7. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[110] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่
อุปาทาน ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”

อุปาทานิยสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 9. พาหิรายตนปริชานนสูตร

8. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายใน

[111] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ
กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้
คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”

อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตรที่ 8 จบ

9. พาหิรายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายนอก

[112] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ
... บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละธรรมารมณ์ เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ...
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละธรรมารมณ์ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”

พาหิรายตนปริชานนสูตรที่ 9 จบ