เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 2. อุปาทายสูตร

2. อุปาทายสูตร
ว่าด้วยสุขทุกข์อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

[105] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร สุขและทุกข์ภายใน
จึงเกิดขึ้น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก”
“เมื่อมีจักขุ เพราะอาศัยจักขุ สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา เพราะอาศัยชิวหา สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีมโน เพราะอาศัยมโน สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :118 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 3. ทุกขสมุทยสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ แม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อุปาทายสูตรที่ 2 จบ

3. ทุกขสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งทุกข์

[106] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์1 เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด