เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 10. อุทกสูตร

รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ทุติยนตุมหากสูตรที่ 9 จบ

10. อุทกสูตร
ว่าด้วยอุทกดาบส

[103] “ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าอุทกดาบส รามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า
‘เรา เป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่
ใคร ๆ ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’ อุทกดาบส รามบุตร ยังเป็นผู้ไม่ถึงเวท
แต่กล่าวว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวท’ ยังเป็นผู้ไม่ชนะวัฏฏะทั้งปวง แต่กล่าวว่า ‘เราชนะ
วัฏฏะทั้งปวง’ ยังขุดรากเหง้าแห่งทุกข์ไม่ได้ แต่กล่าวว่า ‘เราขุดรากเหง้าแห่งทุกข์
ได้แล้ว’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อจะกล่าวเรื่องนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘เราเป็น
ผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุด
ไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :114 }