เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 5. สังวรสูตร

ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล
ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล”

สังวรสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 7. ปฏิสัลลานสูตร

6. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[99] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูป
ไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโน-
วิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง”

สมาธิสูตรที่ 6 จบ

7. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น

[100] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด
ภิกษุผู้หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่
เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :110 }