เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 3. ปริหานธัมมสูตร

3. ปริหานธัมมสูตร
ว่าด้วยปริหานธรรม

[96] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานธรรม1 อปริหานธรรม และ
อภิภายตนะ 6 ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ไม่ละ
ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เรา
กำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่
ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล
อปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อม
จากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้น อาศัยอยู่
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบว่า ‘เราไม่
เสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
อปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 4. ปมาทวิหารีสูตร

อภิภายตนะ 6 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมไม่เกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เราเรียกว่า อภิภายตนะ 6 ประการ”

ปริหานธัมมสูตรที่ 3 จบ

4. ปมาทวิหารีสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท

[97] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความ
ประมาทและภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์
ปีติ (ความอิ่มใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ก็ไม่มี เมื่อ
ไม่มีปัสสัทธิ ภิกษุนั้นย่อมอยู่ลำบาก จิตของเธอผู้อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิต
ไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย1ก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ เธอย่อม
นับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทาง
ลิ้น เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ฯลฯ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’
แท้จริง ฯลฯ