เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 2. มาลุกยปุตตสูตร

เพราะฟังเสียงจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากเสียงจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะดมกลิ่นจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากกลิ่นจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะลิ้มรสจึงหลงลืมสติ
บุคคลเมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรสจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากโผฏฐัพพะจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :102 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 2. มาลุกยปุตตสูตร

เพราะรู้ธรรมารมณ์จึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากธรรมารมณ์จำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติไม่กำหนัดในรูป
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาก็เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้วมีสติไม่กำหนัดในเสียง
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้วมีสติไม่กำหนัดในกลิ่น
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :103 }