เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
5. คหปติวรรค 10. ทุติยอริยสาวกสูตร

เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ อุปาทานจึงไม่มี ... ภพจึงไม่มี ... ชาติจึงไม่มี
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ดับอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดความเกิดและความดับไปแห่งโลกตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง
ฯลฯ ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”

อริยสาวกสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยอริยสาวกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวก สูตรที่ 2

[50] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ...
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี
อะไรจึงมี เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออะไรมี
วิญญาณจึงมี เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะ
จึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี
เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี’
โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่ออวิชชามี สังขารทั้ง
หลายจึงมี เมื่อสังขารทั้งหลายมี วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อ
นามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อ
เวทนามี ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี
ชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี” อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้เกิดขึ้น
อย่างนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณ
จึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :97 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
5. คหปติวรรค 10. ทุติยอริยสาวกสูตร

ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ฯลฯ
อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
โดยที่แท้ อริสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย
จึงไม่มี เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ดับอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดความเกิดและความดับไปแห่งโลกตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณ
อันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง
เป็นพระอริยะมีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”

ทุติยอริยสาวกสูตรที่ 10 จบ
คหปติวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปัญจเวรภยสูตร 2. ทุติยปัญจเวรภยสูตร
3. ทุกขสูตร 4. โลกสูตร
5. ญาติกสูตร 6. อัญญตรพราหมณสูตร
7. ชาณุสโสณิสูตร 8. โลกายติกสูตร
9. อริยสาวกสูตร 10. ทุติยอริยสาวกสูตรv