เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
4. กฬารขัตติยวรรค 5. อวิชชาปัจยสูตร

5. อวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัย

[35] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้ ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร”
“ภิกษุ ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร
ชราและมรณะนี้เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและ
มรณะนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสาย
กลางว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็น
ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี”
“ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :75 }