เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
4. กฬารขัตติยวรรค 5. อวิชชาปัจยสูตร

3. แม้ในอดีต ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
4. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี
5. แม้ในอนาคต ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
6. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี
7. ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณ1ของชาตินั้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป
มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
8. ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ (9-14)
15. ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ... (16-21)
22. ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ... (23-28)
29. ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ... (30-35)
36. ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ... (37-42)
43. ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ... (44-49)
50. ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ... (51-56)
57. ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ... (58-63)
64. ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ... (65-70)
71. ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
72. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
73. แม้ในอดีต ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
74. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
75. แม้ในอนาคต ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
76. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
77. ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของอวิชชานั้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป
มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ 77”

ทุติยญาณวัตถุสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
4. กฬารขัตติยวรรค 5. อวิชชาปัจยสูตร

5. อวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัย

[35] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้ ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร”
“ภิกษุ ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร
ชราและมรณะนี้เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและ
มรณะนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสาย
กลางว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็น
ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี”
“ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :75 }