เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต] 3. ทสพลวรรค 5. ภูมิชสูตร

ในวาทะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้
อย่างไร และเราทั้งหลายจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็น
ผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูก
ตำหนิได้
ในวาทะทั้ง 4 นั้น สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุข
และทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง 4 นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ”
ท่านพระอานนท์ได้ฟังการสนทนาปราศรัยของท่านพระสารีบุตรกับท่าน
พระภูมิชะแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนาทั้งหมดของ
ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระภูมิชะแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์นั้นชื่อว่า
พึงพยากรณ์โดยชอบ เรากล่าวว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :49 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต] 3. ทสพลวรรค 5. ภูมิชสูตร

ปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่
เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มี
การคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ในวาทะทั้ง 4 นั้น สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ ที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่นั้น ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง 4 นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ สมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ
เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกาย
เป็นเหตุ หรือว่าเมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะความ
จงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น
เพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ และเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยด้วย
บุคคลปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิด
ขึ้นด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปใน
ภายในเกิดขึ้นเพราะคนอื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัย
ให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง ไม่รู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งกายสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้น
ด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :50 }