เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต] 3. ทสพลวรรค 5. ภูมิชสูตร

เป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ก็เพราะ
ผัสสายตนะทั้ง 6 นั้น ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนา
จึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบดังกล่าวมานี้แล”

อัญญติตถิยสูตรที่ 4 จบ

5. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ

[25] พระผู้มีภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระภูมิชะออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระ-
สารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่าน
พระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ท่านพระภูมิชะได้ถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและ
ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตน
กระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :48 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต] 3. ทสพลวรรค 5. ภูมิชสูตร

ในวาทะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้
อย่างไร และเราทั้งหลายจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็น
ผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูก
ตำหนิได้
ในวาทะทั้ง 4 นั้น สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุข
และทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง 4 นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ”
ท่านพระอานนท์ได้ฟังการสนทนาปราศรัยของท่านพระสารีบุตรกับท่าน
พระภูมิชะแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนาทั้งหมดของ
ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระภูมิชะแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์นั้นชื่อว่า
พึงพยากรณ์โดยชอบ เรากล่าวว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :49 }