เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
3. ทสพลวรรค 4. อัญญติตถิยสูตร

ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง 4 นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตน
กระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ
“พระพุทธเจ้าข้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่เนื้อความทั้งหมด พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ด้วยบท ๆ เดียว พึงมีหรือ ที่เนื้อความเหมือนอย่างนี้ เมื่อพระองค์
ตรัสโดยพิสดาร จะเป็นเนื้อความที่ลึกซึ้งด้วย จะเป็นกระแสความที่ลึกซึ้งด้วย”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เนื้อความในเรื่องนี้จงปรากฏชัดแก่เธอเองเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์
ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชราและ
มรณะ มีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด’
ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ ชาติมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด
มีภพเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
‘ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภพมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด
มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบ
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ อุปาทาน ฯลฯ ตัณหา
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :47 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต] 3. ทสพลวรรค 5. ภูมิชสูตร

เป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ก็เพราะ
ผัสสายตนะทั้ง 6 นั้น ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนา
จึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบดังกล่าวมานี้แล”

อัญญติตถิยสูตรที่ 4 จบ

5. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ

[25] พระผู้มีภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระภูมิชะออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระ-
สารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่าน
พระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ท่านพระภูมิชะได้ถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและ
ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตน
กระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :48 }