เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [10. ภิกขุสังยุต] 3. ฆฏสูตร

“ท่านผู้มีอายุ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึงเกิดขึ้นแก่ผม
เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา แต่ผมมีความคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระศาสดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีฤทธานุภาพมาก อันตรธานไปแล้ว ถ้าพระองค์พึงดำรง
อยู่ตลอดกาลนาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์
ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
“จริงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ถอนอหังการ1 มมังการ2 และมานานุสัย3
หมดสิ้นมานานแล้ว เพราะฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่
เกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา”

อุปติสสสูตรที่ 2 จบ

3. ฆฏสูตร
ว่าด้วยหม้อ

[237] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่
ในวิหารหลังเดียวกัน ในพระเวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นใน
เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์
ผุดผ่อง ชะรอยวันนี้ ท่านจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [10. ภิกขุสังยุต] 3. ฆฏสูตร

“ท่านผู้มีอายุ วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ แต่ผมได้มีการสนทนาธรรม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับใคร”
“ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค”
“เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ไกลนัก ท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ
หรือว่าพระองค์เสด็จมาหาท่านด้วยฤทธิ์”
“ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระองค์ก็ไม่ได้เสด็จมาหาผม
ด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีตาทิพย์และหูทิพย์อันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาค1 แม้พระผู้มี
พระภาคก็ทรงมีทิพพจักขุและทิพพโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีภาคว่าอย่างไร”
“ผมได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า
‘ผู้ปรารภความเพียร ผู้ปรารภความเพียร’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็น
ผู้ปรารภความเพียร’ เมื่อผมทูลถามอย่างนี้ แม้พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า
‘โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ด้วยตั้งสัตยาธิษฐาน
ว่า ‘เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไปจะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามทีเถิด
ผลอันใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ
บากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร ภิกษุชื่อว่าป็นผู้
ปรารภความเพียรเป็นอย่างนี้’ ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคอย่างนี้