เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [9. โอปัมมสังยุต] 9. นาคสูตร

แต่ในอนาคตพวกกษัตริย์ลิจฉวีจักเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ มีฝ่าพระหัตถ์และ
พระบาทอ่อนนุ่ม บรรทมบนที่บรรทมมีพระเขนยหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธจักทรงได้ช่อง ได้โอกาสของ
กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น
ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลายใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ในการบำเพ็ญเพียรอยู่ มารผู้มีบาปจึงไม่ได้ช่องไม่ได้
โอกาสของภิกษุเหล่านั้น
แต่ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นสุขุมาลชาติ มีฝ่ามือและเท้าอ่อนนุ่ม
นอนบนที่นอนมีหมอนหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น มารผู้มีบาปจักได้ช่อง
ได้โอกาสของเธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ในการบำเพ็ญเพียรอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กลิงครสูตรที่ 8 จบ

9. นาคสูตร
ว่าด้วยช้าง

[231] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลา ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูก
ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านี้จักสำคัญตน
ว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :319 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [9. โอปัมมสังยุต] 9. นาคสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ตระกูล
เกินเวลา เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านี้จักสำคัญตนว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลาย
อาศัยสระนั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น ล้างให้
ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีโคลนตม อย่างเอร็ดอร่อย การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ถึงความ
ตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น ส่วนลูกช้างเล็ก ๆ ทำตามช้างใหญ่เหล่านั้น
เหมือนกัน พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น (แต่)ไม่ล้างให้ดี
ไม่เคี้ยวให้ละเอียด กลืนทั้งโคลนตม การกระทำอย่างนั้นย่อมไม่มี(ประโยชน์) ต่อ
ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงถึงความตายหรือทุกข์
ปางตาย เพราะการกินนั้น
ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้
เลื่อมใส ทำอาการของผู้เสื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น
ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
จึงไม่ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ทำ
ตามภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นเหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส
ทำอาการของผู้เลื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายกำหนัด หมกมุ่น พัวพัน
มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :320 }