เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
3. ตติยวรรค 8. ฉวิสูตร

7. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 3

[176] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดลาภสักการะ
และความสรรเสริญ ความเกิดแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ความดับแห่ง
ลาภสักการะและความสรรเสริญ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและ
ความสรรเสริญ ฯลฯ รู้ชัด ฯลฯ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ 7 จบ

8. ฉวิสูตร
ว่าด้วยผิว

[177] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ฉวิสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
3. ตติยวรรค 10. ภิกขุสูตร

9. รัชชุสูตร
ว่าด้วยเชือก

[178] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ทรงพลัง เอาเชือกขนหางสัตว์อย่างเหนียวพันแข้ง แล้วสีไป
สีมา เชือกนั้นพึงตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วพึงตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วพึงตัดเนื้อ
ครั้นตัดเนื้อแล้วพึงตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้ง
จดเยื่อในกระดูกอยู่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อมตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อ
แล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้งจดเยื่อใน
กระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

รัชชุสูตรที่ 9 จบ

10. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[179] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แก่ภิกษุขีณาสพประเภทไหน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :281 }