เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
1. ปฐมวรรค 9. เวรัมภสูตร

บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต
อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง
นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สิคาลสูตรที่ 8 จบ

9. เวรัมภสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
นกถูกลมบ้าหมูพัด

[165] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
ลมบ้าหมูพัดอยู่บนอากาศ ซัดนกที่กำลังบินอยู่ในอากาศ เมื่อมันถูกลม
บ้าหมูซัด เท้าไปทางหนึ่ง ปีกไปทางหนึ่ง ศีรษะไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ
ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม
ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่ม
ไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอเพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุพวกหนึ่งนำจีวร
ของเธอไป พวกหนึ่งนำบาตรไป พวกหนึ่งนำผ้านิสีทนะ1ไป พวกหนึ่งนำกล่องเข็มไป
เปรียบเหมือนนกถูกลมบ้าหมูซัดไปฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

เวรัมภสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต] 10. สคาถกสูตร

10. สคาถกสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญมีอบายเป็นผล

[166] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้ว
ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกความเสื่อม
สักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ถูกสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่าง
ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“สมาธิของภิกษุใด ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
(1) ด้วยมีผู้สักการะ (2) ด้วยไม่มีผู้สักการะ
ภิกษุผู้เข้าฌานมีความเพียรพิจารณาด้วยปัญญาที่สุขุม
ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทานนั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ”1

สคาถกสูตรที่ 10 จบ
ปฐมวรรค จบ