เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
1. ปฐมวรรค 6. อสนิสูตร

ธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉัน(ภัตตาหาร) จนพอ
แก่ความต้องการ และทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้อาหารของเธอจะเต็ม
บาตร เธอไปอารามแล้ว ยังพูดโอ้อวดท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ‘ผมฉันพอแก่ความ
ต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น อาหารของผมก็เต็มบาตร และยังจะ
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่น
มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร’ เธอถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต จึงดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มีศีลเป็นที่รัก การกระทำ ของโมฆบุรุษนั้นเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด
กาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

มีฬหกสูตรที่ 5 จบ

6. อสนิสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนสายฟ้า

[162] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
สายฟ้าผ่าถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตามพระเสขะ
ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘สายฟ้าผ่า’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

อสนิสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6. ลาภสักการสังยุต]
1. ปฐมวรรค 9. เวรัมภสูตร

7. ทิทธสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนลูกศรอาบยาพิษ

[163] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
บุคคลยิงลูกศรอาบยาพิษถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตาม
พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทิทธสูตรที่ 7 จบ

8. สิคาลสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญ
เปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกเป็นโรคเรื้อน

[164] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนัขจิ้งจอกแก่นั้นเป็นโรคเรื้อน อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี
อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :270 }