เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 13. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

3. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระสงฆ์
4. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสิกขา
5. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสมาธิ
เหตุ 5 ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความ
ไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม

สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตรที่ 13 จบ

กัสสปสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

1. สันตุฏฐสูตร 2. อโนตตัปปีสูตร
3. จันทูปมาสูตร 4. กุลูปกสูตร
5. ชิณณสูตร 6. โอวาทสูตร
7. ทุติยโอวาทสูตร 8. ตติยโอวาทสูตร
9. ฌานาภิญญสูตร 10. อุปัสสยสูตร
11. จีวรสูตร 12. ปรัมมรณสูตร
13. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [6.ลาภสักการสังยุต]
1. ปฐมวรรค 1. ทารุณสูตร

6. ลาภสักการสังยุต

1. ปฐมวรรค
หมวดที่ 1

1. ทารุณสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ

[157] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภ1 สักการะ2 และความสรรเสริญ3เป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทารุณสูตรที่ 1 จบ