เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 7. อเจลกัสสปสูตร

หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ
ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ... อวิชชา ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นอวิชชา ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธัมมกถิกสูตรที่ 6 จบ

7. อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ

[17] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร1 เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ อเจลกัสสปะได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าพเจ้าขอถามเหตุบางอย่างกับท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมเปิดโอกาส
เพื่อตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า”
“กัสสปะ ยังไม่ใช่เวลาที่จะตอบปัญหาของท่าน เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 7. อเจลกัสสปสูตร

แม้ครั้งที่ 2 อเจลกัสสปะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าพเจ้า
ขอถามเหตุบางอย่างกับท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมเปิดโอกาส เพื่อตอบปัญหา
แก่ข้าพเจ้า”
“กัสสปะ ยังไม่ใช่เวลาที่จะตอบปัญหาของท่าน เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”
แม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ ‘เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว อเจลกัสสปะได้กราบทูลว่า “ข้าพเจ้า
ไม่ประสงค์ที่จะถามท่านพระโคดมมากนัก”
“กัสสปะ จงถามปัญหาที่ท่านประสงค์เถิด”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และคนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่น
กระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์ไม่มีหรือ”
“กัสสปะ ทุกข์ไม่มีก็มิใช่ ทุกข์มีอยู่”
“ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นทุกข์หรือ”
“กัสสปะ เราไม่รู้เห็นทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นทุกข์โดยแท้”
“เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :27 }