เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 8. ตติยโอวาทสูตร

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์
ให้เธอนั่ง ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการ
ศึกษาแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะเหล่านั้นย่อม
ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้น ย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และ
ไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มักน้อย และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ไม่เป็นผู้สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจากหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่
เป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ปรารภ
ความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น ภิกษุรูปใดมีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์ให้เธอนั่ง
ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อนสพรหมจารี
ด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด”
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระพากันนิมนต์ให้เธอ
นั่งด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อน
สพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะ
เหล่านั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์แก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :249 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 9. ฌานาภิญญสูตร

กัสสปะ แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาการ
ประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนนั้น
ให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เบียดเบียนแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความ
ปรารถนาการประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว”

ตติยโอวาทสูตรที่ 8 จบ

9. ฌานาภิญญสูตร
ว่าด้วยฌานและอภิญญา

[152] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ
ก็สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและ
สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะวิตก วิจารสงบระงับไป แม้กัสสปะก็บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะปีติจางคลายไป แม้กัสสปะเป็น
ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่
เธอต้องการเช่นกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :250 }