เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 8. ตติยโอวาทสูตร

ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิริ ... ไม่มี
โอตตัปปะ ... เป็นคนเกียจคร้าน ... มีปัญญาทราม ... มักโกรธ ... ผูกโกรธ ...
ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม
บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญาในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น มีแสงเปล่งปลั่ง เต็มดวง มีรัศมีเจิดจ้า
วัดความยาวและความกว้างได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
กัสสปะ ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
มีหิริ ฯลฯ มีโอตตัปปะ ฯลฯ ปรารภความเพียร ฯลฯ มีปัญญา ฯลฯ ไม่เป็นผู้
มักโกรธ ฯลฯ ไม่ผูกโกรธ ฯลฯ มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อม”

ทุติยโอวาทสูตรที่ 7 จบ

8. ตติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ 3

[151] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :247 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 8. ตติยโอวาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
“กัสสปะ จริงอย่างนั้น ในครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้
มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัด
จากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วย
คำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิด
ภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้
สันโดษ ... สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :248 }