เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 4. กุลูปกสูตร

อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่
เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัส
เพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้ไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย 4 ในตระกูล
อื่น ๆ แต่ที่ไหน ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ
อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา
อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล ถ้าเมื่อ
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก
ภิกษุจึงไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ... ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ
ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย 4 ในตระกูลอื่น ๆ แต่ที่ไหน
ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย’ ฯลฯ
จึงเข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวย
ทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้ของเศร้าหมอง
ไม่ให้ของประณีต กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัส ชนทั้งหลาย
ให้ช้า ไม่ให้เร็ว กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะ
สาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้วพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

กุลูปกสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 5. ชิณณสูตร

5. ชิณณสูตร
ว่าด้วยความแก่

[148] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ บัดนี้เธอแก่แล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่ม
เพราะฉะนั้น เธอจงใช้สอยคหบดีจีวร1 จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ใน
สำนักของเราเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมัก
น้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน”
“เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน
[ข้อความที่ละไว้เป็นอย่างเดียวกัน]