เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 5.กัจจานโคตตสูตร

รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร รู้ชัดธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่านี้
รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ
และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ของ
ความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4 จบ

5. กัจจานโคตตสูตร
ว่าด้วยพระกัจจานโคตร

[15] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระกัจจานโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ’ นี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ”
“กัจจานะ โดยมากโลกนี้อาศัยที่สุด 2 อย่าง คือ (1) ความมี (2) ความไม่มี
ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นของโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ความไม่มีในโลก ก็ไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ความมีในโลก ก็ไม่มี
กัจจานะ โดยมากโลกนี้ยังพัวพันอยู่ด้วยอุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่
ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่อง แต่อริยสาวกไม่เข้าไปถือมั่นอุบายและความยึดมั่น
อันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องว่า ‘อัตตาของเรา’ ไม่เคลือบแคลง
ไม่สงสัยว่า ‘ทุกข์นั้นแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับไป’ อริยสาวก
นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :24 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 6. ธัมมกถิกสูตร

กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
ที่สุดอย่างที่ 1 นี้ คือ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ที่สุดอย่างที่ 2 นี้ คือ สิ่งทั้งปวง
ไม่มีอยู่ ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”1

กัจจานโคตตสูตรที่ 5 จบ

6. ธัมมกถิกสูตร2
ว่าด้วยพระธรรมกถึก

[16] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็น
ธรรมกถึก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็น
ธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและ
มรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’