เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [4. อนมตัคคสังยุต]
1. ปฐมวรรค 6. สาสปสูตร

ความพยายามนี้ ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่งยังไม่หมดสิ้นไป กัปนานนักหนาอย่างนี้
บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ 1 กัป มิใช่ 100 กัป มิใช่
1,000 กัป มิใช่ 100,000 กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ
ภิกษุ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้น
จากสังขารทั้งปวง”

ปัพพตสูตรที่ 5 จบ

6. สาสปสูตร
ว่าด้วยเมล็ดผักกาด

[129] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุ กัปหนึ่งนานนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะ
นับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ 100,000 ปี””
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุ เปรียบเหมือนนครที่สร้างด้วยเหล็ก1มีความยาว 1 โยชน์
กว้าง 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดผักกาด รวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษ
พึงหยิบเมล็ดผักกาดออกจากนครนั้น 100 ปีต่อ 1 เมล็ด เมล็ดผักกาดกองใหญ่นั้น
พึงหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่ง ยังไม่หมดสิ้นไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [4. อนมตัคคสังยุต]
1. ปฐมวรรค 7. สาวกสูตร

กัปนานนักหนาอย่างนี้ บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ 1 กัป
มิใช่ 100 กัป มิใช่ 1,000 กัป มิใช่ 100,000 กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง”

สาสปสูตรที่ 6 จบ

7. สาวกสูตร
ว่าด้วยพระสาวก

[130] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้ว มากเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ 100 กัป เท่านี้ 1,000 กัป
หรือว่าเท่านี้ 100,000 กัป”
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสาวก 4 รูปในธรรมวินัยนี้
มีอายุ 100 ปี มีชีวิตอยู่ 100 ปี หากเธอเหล่านั้นพึงระลึกย้อนหลังไปได้ วันละ
100,000 กัป กัปที่เธอเหล่านั้นระลึกไปไม่ถึงยังมีอยู่ ต่อมาสาวก 4 รูป มีอายุ
100 ปี มีชีวิตอยู่ 100 ปี พึงมรณภาพไปทุก 100 ปี กัปที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนาอย่างนี้ มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ 100 กัป เท่านี้
1,000 กัป หรือว่าเท่านี้ 100,000 กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

สาวกสูตรที่ 7 จบ