เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 2.โมลิยผัคคุนสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอ ย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ‘ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า
‘ย่อมกลืนกิน’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า ‘ย่อมกลืนกิน’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควร
ถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมกลืนกิน’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณาหารมีเพื่ออะไร’ ปัญหาของ
ผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘วิญญาณาหาร
เป็นปัจจัยเพื่อเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้น เกิดแล้ว สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมถูกต้อง”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมถูกต้อง’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า
‘ย่อมถูกต้อง” ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ใครเล่าย่อมถูกต้อง’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควร
ถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมเสวยอารมณ์”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม’ เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหา
ที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมทะยานอยาก”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :20 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
2. อาหารวรรค 3. สมณพราหมณสูตร

พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมทะยานอยาก’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนี้ ผู้ที่ถามอย่างนี้
ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็น
ปัญหาที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมถือมั่น”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมถือมั่น’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า
‘ย่อมถือมั่น’ ในคำกล่าวนั้นปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า
ย่อมถือมั่น’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนี้ ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควรถาม
ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
ผัคคุนะ ก็เพราะผัสสายตนะทั้ง 6 ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

โมลิยผัคคุนสูตรที่ 2 จบ

3. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[13] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :21 }