เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [3. ธาตุสังยุต] 2. ทุติยวรรค 2. สนิทานสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด 3 ทาง คือ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
หากเขาไม่รีบดับด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้า
และไม้อยู่ พึงถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือ
พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอกุศล-
สัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความ
อึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังทุคติได้
เนกขัมมวิตก(ความตรึกในการออกบวช) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อพยาบาทวิตก(ความตรึกในความไม่พยาบาท) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตก(ความตรึกในความไม่เบียดเบียน)มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เนกขัมมวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อพยาบาทวิตกมีเหตุจึง
เกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ
เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนา
ย่อมปฏิบัติชอบ 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
อพยาบาทสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทธาตุ อพยาบาทสังกัปปะเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทสัญญา ... อพยาบาทฉันทะ ... อพยาบาทปริฬาหะ ...
อพยาบาทปริเยสนา
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ 3 ทาง
คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :183 }